Plasma Clean

รักษาสิว

Plasma Clean

Plasma Clean ตัวช่วยสำหรับรักษาปัญหาผิว สิวผด สิวเซ็บเดิร์ม ที่เห็นผลลัพธ์ที่สุดในยุคปัจจุบัน ซึ่งPlasmalis เทคโนโลยีที่มีกระบวนการผลักเซลล์ผิวที่อ่อนโยนที่สุด ไม่ทำร้ายผิว และเซลล์ข้างเคียง เผยผิวสวยเรียบเนียน ดูอ่อนเยาว์ เห็นผลเร็ว และชัดเจนขึ้น


Plasma Clean โปรแกรมเคลียร์ปัญหาสิว ฟื้นฟูผิวสวย

ปัญหาผิว สิวผด สิวเซ็บเดิร์ม นับว่าเป็นเรื่องที่กระทบจิตใจสาว ๆ อย่างเป็นอย่างมาก เนื่องจากส่งผลโดยตรงในเรื่องของความสวยงามบนใบหน้า หลายคนจึงเลือกหันมาบำรุงผิวหน้าโดยการทาครีม หรือดูแลผิวด้วยผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งอาจเห็นผลช้าไม่ทันใจ ทั้งนี้การเลือกวิธีผลัดเซลล์ผิวแบบเดิม ๆ อาจไม่ใช่คำตอบของการเผยผิวใหม่ที่มีสุขภาพดีอีกต่อไป ซ้ำยังทำร้ายผิว และเซลล์ข้างเคียงอีก อีกด้วยครั้งแรกกับนวัตรกรรมใหม่ Plasmalis เทคโนโลยีที่มีกระบวนการผลักเซลล์ผิวที่อ่อนโยนที่สุด ไม่ทำร้ายผิว และเซลล์ข้างเคียง เผยผิวสวยเรียบเนียน ดูอ่อนเยาว์ เห็นผลเร็ว และชัดเจนขึ้น


สิว คืออะไร

สิว (Acne) คือ สภาพผิวทั่วไปที่เกิดการอุดตันของไขมัน หรือเซลล์ผิวที่ตายแล้วบริเวณรูขุมขน ตลอดจนปัญหาผิวแห้งขาดน้ำ ทำให้ผิวมีการผลิตน้ำมันออกมามากจนเกินไป การอุดตันของสิวมีหลายลักษณะ ตั้งแต่การเป็นตุ่มเล็ก ๆ ใต้ผิวหนัง หรือบางครั้งมีการบวม แดง หรือบางครั้งอาจมีการอักเสบร่วมด้วย หากมีปัจจัยกระตุ้นเพิ่มเติม เช่น เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสิวส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณใบหน้า แต่สามารถปรากฏให้เห็นบริเวณหลัง หน้าอก และบริเวณไหล่ได้เช่นเดียวกัน


สิวมีกี่ชนิด เกิดจากอะไรบ้าง

  • สิวผด
    สิวผด คือ สิวที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย และเป็นสิวที่เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ กระจายตัวทั่วใบหน้าเป็นจำนวนมากคล้ายกับผื่นแพ้ เมื่อดูด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ไม่มีหัว แต่เมื่อสัมผัสจะรู้สึกได้ว่าผิวมีความสาก ไม่เรียบเนียน ในบางครั้งสิวผดอาจสร้างความรำคาญใจ หรือทำให้รู้สึกระคายเคืองได้
    สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสิวผดนั้นมีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 3 ประการ นั่นก็คืออุณหภูมิความร้อน มลภาวะ และพฤติกรรมการใช้ชีวิต ในบางครั้งยังอาจมีสาเหตุมาจากการที่เกราะปกป้องผิวอ่อนแอจนทำให้ผิวไวต่อการระคายเคืองอีกด้วย
  • สิวอุดตัน
    สิวอุดตัน คือ สิวประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูน ไม่มีหัวสิว สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ สิวอุดตันหัวดำ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสิวหัวแข็ง มีสีดำคล้ำ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และอีกหนึ่งประเภทคือ สิวอุดตันหัวขาว ที่ยากต่อการมองเห็น สามารถรับรู้ได้จากการสัมผัสเท่านั้น
    สิวประเภทนี้เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการผลัดเซลล์ผิว จากปกติที่เซลล์ผิวหนังกำพร้าจะผลัดออกไปตามธรรมชาติ กลับกลายเป็นจับตัวกันแน่น และอุดตันบริเวณรูขุมขน เมื่อนานวันเข้าก็จะสะสมรวมกับแบคทีเรียที่อยู่บนชั้นผิวหนังจนกลายเป็นเม็ดสิวอุดตันในที่สุด
  • สิวอักเสบ
    สิวอักเสบถือว่าเป็นปัญหาสิวที่ทำให้หลายคนเกิดความไม่มั่นใจได้มากที่สุด เพราะสิวอักเสบเป็นสิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูน บวมแดงจนเห็นได้ชัด ทั้งยังมาพร้อมกับความเจ็บปวดอีกด้วย อีกทั้งหากรักษาไม่ถูกวิธี หรือเผลอไปกดบีบสิวด้วยตัวเอง ยิ่งทำให้สิวเกิดการอักเสบหนักกว่าปกติ ตามมาด้วยปัญหารอยแผลเป็น และรอยดำจากสิวที่ยากจะรักษา สาเหตุของการเกิดสิวอักเสบนั้น เกิดจากการที่แบคทีเรียบนใบหน้าปล่อยเอนไซม์กระตุ้นสิวอุดตันที่เป็นอยู่แต่เดิมให้เกิดการอักเสบขึ้นมา ทำให้สิวมีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา สิวอักเสบก็จะยิ่งทำลายชั้นผิวหนังจนกลายเป็นปัญหาหลุมสิวในที่สุด

วิธีสังเกตประเภทของสิว

  • สิวหัวดำ (Blackheads)
    สิวหัวดำ (Blackheads) คือ สิวอุดตันประเภทหัวเปิด (Open Comedones) หรือเป็นสิวที่ไม่อักเสบ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก โดยบริเวณตรงกลางของสิวจะมีการฝังตัวของเคราติน (Keratin) และลิพิด (Lipid) ซึ่งเกิดการทำปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) กับออกซิเจนจนกลายเป็นสีดำ นอกจากนี้ ยังมีสิวหัวดำแบบแข็งที่เกิดจากการสะสมของ Corneocyte และ Sebum ในรูขุมขน จนเกิดการขยายตัวออกของรูขุมขน และเผยให้เห็นจุดสีดำที่อุดตันอยู่ภายในอย่างชัดเจน
  • สิวหัวขาว (Whiteheads)
    สิวหัวขาว (Whiteheads) เป็นสิวอุดตันประเภทหัวเปิด (Open Comedones) เหมือนกันกับสิวหัวดำ แต่สิวหัวขาวมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อุดตันใต้ผิวหนัง หรือรูขุมขน แต่ไม่ได้มีการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้มีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ อุดตันอยู่บริเวณผิวหนังชั้นบน ซึ่งสิวหัวขาวมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ สามารถก่อให้เกิดเป็นสิวอักเสบตามมาได้
  • สิวเสี้ยน (Trichostasis Spinulosa)
    สิวเสี้ยน (Trichostasis Spinulosa) เป็นสิวอุดตันที่มีลักษณะคล้ายกับสิวหัวดำ เกิดการการผิดปกติของรูขุมขน และมักมีขนกระจุกเล็ก ๆ หลายเส้น กระจายตัวแทรกอยู่ในหัวสิวอุดตัน ทำให้มีลักษณะเป็นหนาวแหลมยื่นออกมาจากรูขุมขน จึงเรียกว่า สิวเสี้ยน โดยสิวประเภทนี้มักพบได้มากบริเวณจมูก หน้าผาก ข้างแก้ม และคาง
  • สิวที่มีตุ่มนูนแดง (Papule)
    สิวที่มีตุ่มนูนแดง (Papule) เป็นสิวอักเสบระยะเริ่มต้นที่เกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรีย และการอุดตันของรูขุมขน หรืออาจเกิดจากการบีบ กด แคะ และแกะสิว ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปใบรูขุมขนจนก่อให้เกิดเป็นสิวอักเสบในที่สุด ซึ่งสิวที่มีตุ่มนูนแดงมีขนาดเล็กไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร มักขึ้นตามบริเวณใบหน้า สังเกตได้จากการสัมผัส หรือลูบผิวหน้าแล้วมีลักษณะนูน ไม่เรียบเนียน หรือบางครั้งอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อยเมื่อสัมผัส
  • สิวหัวช้าง (Acne Conglobata)
    สิวหัวช้าง (Acne Conglobata) เป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรงมากที่สุด เกิดจากการอักเสบใต้ผิวชั้นหนังแท้ มีลักษณะเป็นตุ่มขนาดใหญ่ ภายในมีหนองข้นเนื่องจากการอักเสบ แต่ไม่มีหัว หรือขอบเขตของสิวที่ชัดเจน มักเกิดขึ้นบริเวณผิวหน้า อก หรือหลัง และสังเกตได้ง่ายจากอาการนูน บวม แดง นอกจากนี้ สิวหัวช้างยังเป็นสิวที่รักษาได้ยากที่สุด ต้องมีการปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม

สาเหตุของการเกิดสิวแต่ละจุดบนใบหน้า

  • สิวบริเวณกรอบหน้า
    สำหรับใครที่กำลังเผชิญกับปัญหาสิวบริเวณกรอบหน้า และไรผม อาจมีสาเหตุของการเกิดสิวมาจากการใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของสารเคมี น้ำมัน  หรือน้ำหอม เพราะบางครั้งสารเคมีเหล่านี้อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้ง่าย และยังเข้าไปอุดตันตามรูขุมขนอีกด้วย รวมถึงพฤติกรรมที่เผลอทำอยู่เป็นประจำ เช่น การสัมผัสบริเวณคาง หรือแก้มในเวลาที่รู้สึกเครียด หรือการนั่งเท้าคางบ่อย ๆ โดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ อย่างการสวมหมวก และการใช้ที่คาดผมเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองจนเกิดสิวอักเสบได้เช่นกัน
  • สิวที่คาง
    สาเหตุของการเกิดสิวที่คางนั้น ปกติแล้วมักเกิดจากการที่ระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน หรือฮอร์โมนเพศชายในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ต่อมไขมันบนใบหน้าผลิตน้ำมันออกมามากกว่าปกติ ในผู้หญิงมักมีอาการเหล่านี้ในช่วง 7-10 วันก่อนเป็นประจำเดือน ทำให้มีสิวที่คางเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งนอกจากเรื่องของฮอร์โมนแล้ว สิวที่คางยังเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง และอาหารแปรรูปมากเกินไป จนทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติอีกด้วย
  • สิวที่หน้าผาก
    สิวที่หน้าผาก อาจเกิดได้จากการแพ้ยาสระผมเช่นเดียวกับการเกิดสิวบริเวณกรอบหน้า นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากการสัมผัสกับแสงแดดมากเกินไป รวมถึงการสัมผัสกับเหงื่อ ฝุ่นละออง และสิ่งสกปรก เพราะหน้าผากมักเป็นส่วนที่เผชิญกับสิ่งเหล่านี้ได้มากกว่าปกติ ทำให้รูขุมขนเกิดการอุดตันได้ง่าย
  • สิวที่แก้ม
    สิวที่แก้มเป็นสิวที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุดสำหรับหลาย ๆ คน สาเหตุก็คือการที่ผิวหน้าไปสัมผัสกับหน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือปลอกหมอนที่สกปรกอยู่บ่อย ๆ หรือเกิดจากการใช้มือสัมผัสแก้มด้วยความเคยชิน ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากการที่สิวมักจะเกิดขึ้นบนใบหน้าข้างที่ใช้โทรศัพท์บ่อย ๆ หรือข้างที่เรามักนอนตะแคงเป็นประจำ
  • สิวบริเวณทีโซน
    บริเวณทีโซน (หน้าผาก จมูก และคาง) มักเป็นบริเวณที่ต่อมไขมันบนใบหน้าผลิตน้ำมันออกมามากที่สุด ยิ่งเผชิญกับอากาศร้อน หรือฝุ่นละออง ยิ่งทำให้เกิดสิวในบริเวณเหล่านี้ได้ง่าย ยิ่งเราสัมผัสกับบริเวณเหล่านี้บ่อย ๆ หรือแก้ปัญหาด้วยการบีบสิวด้วยตัวเอง ยิ่งทำให้สิวลุกลามมากขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดสิว

การเป็นสิวสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน หากทำการรักษาไม่ถูกวิธี และไม่เหมาะสมกับสภาพของผิวหน้า หรือประเภทของสิว ซึ่งภาวะที่แทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอาจทำให้สิวไม่หาย เกิดเป็นวงจรสิวที่เกิดซ้ำ ๆ หรือมีการพัฒนาของสิวที่รุนแรงมากขึ้น ตลอดจนในบางคนที่มีปัญหาสิวมานาน อาจเกิดความกังวล หรือความเครียด ทำให้เกิดเป็นภาวะซึมเศร้า และการปลีกตัวออกจากสังคมได้ นอกจากนี้ สิวบางประเภทที่ต้องทำการรักษาด้วยวิธีการทางหัตถการ หรือการศัลยกรรม อาจมีรอยแผล หรือรอยหลุมสิวจากการเป็นสิวที่ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ และหาแนวทางการรักษาต่อไปโดยแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง


มาทำความรู้จักระดับความรุนแรงของสิว

นอกจากนี้ สิวยังแบ่งตามความรุนแรงได้เป็น 3 ระยะ คือ

  • สิวเล็กน้อย (mild acne) มีสิวอุดตันเป็นส่วนใหญ่ หรือมีสิวอักเสบ ตุ่มหนอง ไม่เกิน 10 จุด
  • สิวปานกลาง (moderate acne) มีสิวอักเสบ ตุ่มหนอง มากกว่า 10 จุด และ หรือมีสิวอักเสบขนาดใหญ่น้อยกว่า 5 จุด
  • สิวรุนแรง (severe) มีสิวอักเสบ ตุ่มหนองจำนวนมาก และมีสิวอักเสบขนาดใหญ่, สิวซีสต์เป็นจำนวนมาก หรืออาจมีทางเชื่อมหนองไหล (sinus tract) ได้ด้วย

สาเหตุของการเกิดสิว 

สิว เกิดจากการอุดตันของไขมัน หรือเซลล์ผิวที่ตายแล้วอย่างที่กล่าวไป โดยกลไกการเกิดสิวมาจากการที่บริเวณใต้ผิวหนังของคนเรามีต่อมไขมัน ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างไขมัน และน้ำมัน เพื่อเติมความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง โดยน้ำมัน และไขมันจะถูกขับผ่านท่อไขมัน หรือรูขุมขน ต่อมาเมื่อเกิดการผลิตน้ำมันมากเกินไป จนน้ำมัน และไขมันต่าง ๆ ไม่สามารถระบายได้ทัน ส่งผลให้เกิดการอุดตันของไขมันส่วนเกินในรูขุมขน หรือเกิดเป็นสิวอุดตัน ซึ่งการอุดตันก่อให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนบริเวณรูขุมขน ตลอดจน ‘เชื้อแบคทีเรีย’ ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายไขมัน และเป็นปัจจัยทำให้สิวเจริญเติบโตได้ดี จนกลายเป็นสิวอักเสบในที่สุด กลไกนี้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิว แต่ความเป็นจริงแล้ว สาเหตุของการเกิดสิวยังเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ หลายปัจจัย ดังนี้

ปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายใน คือ ปัจจัยที่เกิดจากภายในร่างกายของเรา ซึ่งสามารถก่อให้เกิดสิวประเภทต่าง ๆ ได้ โดยปัจจัยภายในที่กระตุ้นความเสี่ยงในการเกิดสิว มีดังนี้

  • ฮอร์โมน
    ฮอร์โมน (Hormones) ถือเป็นหนึ่งสาเหตุของการเกิดสิว โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น หรือวัยเจริญพันธุ์ที่ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ โดยเฉพาะฮอร์โมนที่มีชื่อว่า ‘แอนโดรเจน’ (Androgens) ซึ่งระดับของฮอร์โมนจะเพิ่มสูงมากขึ้น จนไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันใต้ผิวหนังเกิดการขยายตัว และสร้างน้ำมันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดกระบวนการอุดตันของไขมันตามมา หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน
  • พันธุกรรม
    มีนักวิจัยหลายคนเชื่อว่า ‘พันธุกรรม’ เป็นสาเหตุของการเกิดสิวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากพ่อ แม่ หรือคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นสิวในช่วงวัยรุ่น  หรือวัยผู้ใหญ่ อาจมีแนวโน้มที่จะทำให้เราเป็นสิวในช่วงวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน การเป็นสิวจากพันธุกรรมจึงต้องหาวิธีการรักษาในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับตัวเองต่อไป
  • ความเครียด
    ความเครียด เป็นอีกปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิว เนื่องจากเมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดความเครียด ร่างกายจะมีการหลังฮอร์โมน Corticotrophin-releasing ซึ่งส่งผลให้เกิดการผลิตน้ำมันของต่อมไขมันที่มากจนเกินไป ก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน และเกิดเป็นสิวอุดตันได้ ดังนั้น ถ้าไม่อยากเป็นสิวก็ลองพยายามผ่อนคลาย อย่าเครียดมากจนเกินไป
  • การใช้ชีวิตไม่สมดุล
    การใช้ชีวิตไม่สมดุล หมายถึง การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ หรือนอนไม่เป็นเวลา รวมถึงการทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายเสียสมดุล ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการผลัดเซลล์ผิว ทำให้เกิดการอุดตันของผิว และทำให้เป็นสิวได้

ปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายนอก คือ ปัจจัยที่เกิดจากภายนอกร่างกายของเรา ซึ่งสามารถก่อให้เกิดสิวประเภทต่าง ๆ ได้เช่นกัน โดยปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นความเสี่ยงในการเกิดสิว มีดังนี้

  • อากาศ และมลภาวะ
    อากาศร้อน แห้ง หรือชื้น เป็นปัจจัยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ตลอดจนฝุ่นควัน และมลภาวะในอากาศในทุกคนต้องเผชิญในแต่ละวัน จนหลายคนเลือกที่จะใส่แมสก์ หรือหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน แต่สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรกบนใบหน้า และรูขุมขน ส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาสิวตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • การทำความสะอาดใบหน้า
    การทำความสะอาดใบหน้าแบบผิด ๆ หรือการทำความสะอาดแบบไม่ถูกวิธี เช่น การล้างหน้าบ่อยเกินไป การขัด หรือถูหน้าด้วยความรุนแรง ส่งผลให้ผิวหน้าแห้งกร้านจนต่อมไขมันต้องผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น เกิดการอุดตันของผิวหนัง และกลายเป็นสาเหตุของการเกิดสิวในที่สุด หรือแม้แต่การเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหน้าที่ไม่เหมาะสมกับสภาพผิว อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือเกิดการเพิ่มขึ้นของน้ำมันบนใบหน้าได้
  • เครื่องสำอาง และสารเคมี
    ใครหลายคนที่เลือกใช้เครื่องสำอาจต่าง ๆ ในการแต่งหน้า โดยเฉพาะสาว ๆ หลายคนที่ใช้เครื่องสำอางหลายชนิด โดยอาจไม่รู้ว่าในเครื่องสำอางนั้นประกอบไปด้วยสารเคมี หรือส่วนผสมที่ไม่เหมาะสมกับผิวหน้าของตัวเอง อีกทั้งการทำความสะอาดเครื่องสำอางที่ไม่ดี ยังเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการอุดตันของเครื่องสำอางในรูขุมขน และบริเวณผิวหนังที่มีการอุดตันของไขมันอยู่แล้ว จึงเป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้เช่นกัน

ปัจจัยใดบ้างที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิว

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว เริ่มตั้งแต่ปัจจัยภายใน คือ กรรมพันธุ์ เพศ วัย รวมทั้งฮอร์โมน โรคเรื้อรัง ทั้งยังมีปัจจัยภายนอก เช่น การใช้ยา ครีม เครื่องสำอางบางชนิด อาหาร แสงแดด อุณหภูมิ และสภาพแวดล้อม


โปรแกรมรักษาสิว Plasma Clean คืออะไร

Plasma Clean คือนวัตรกรรมใหม่ที่ช่วยในเรื่องของการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และเชื้อรา ที่ก่อให้เกิดสิวผิด สิวเซ็บเดิร์ม นอกจากนี้ยังช่วยทำให้เซลล์ผิวที่ตายแล้วหลุดออก เรียกได้ว่าเป็นการผลัดเซลล์ผิวในแบบอ่อนโยน ไม่ทำร้ายผิว โดยการใช้ออกซิเจน และน้ำในอากาศทำให้เกิดปฏิกิริยาให้เกิดสารสำคัญ 3 อย่าง คือ โอโซน,ไฮโดเจนเปอร์ออกไซด์ และไฮดรอกซิลนั่นเองค่ะ


กระบวนการทำงานของ Plasma Clean

Plasma Clean เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านความงามที่ทำงานด้วย พลังงานพลาสม่า (Plasma) โดยตัวเครื่องจะปลดปล่อยสนามไฟฟ้าขนาดเล็ก ไปยังเครื่องมือที่เรียกว่า ‘ไดอิเล็คทริคบาริเออร์ดิสชาร์จ (DBD)’ เมื่อเครื่องมือดังกล่าวสัมผัสผิวหนัง สนามแม่เหล็กจะทำปฏิกิริยากับละอองน้ำในอากาศ เพื่อเปลี่ยนองค์ประกอบของไอน้ำให้แตกตัวเป็นอนุมูลต่าง ๆ เช่น  โอโซน,ไฮโดเจนเปอร์ออกไซด์ และไฮดรอกซิล ซึ่งอนุมูลทั้ง 3 ชนิดนี้มีความสามารถในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และรา ได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายของเซลล์ข้างเคียง 

ในขณะเดียวกันก็ช่วยดึงเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพที่ฝังอยู่ในรูขุมขน ไปจนถึงสิ่งตกค้างต่าง ๆ ทั้งคราบฝุ่นฝังลึก มลภาวะ เครื่องสำอางตกค้าง ให้หลุดออกได้อย่างอ่อนโยน ส่งผลให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น พร้อมรับการบำรุงในขั้นตอนต่อไปอีกด้วยค่ะ


Plasma Clean เหมาะกับใครบ้าง

หัตถการนี้เป็นการเตรียมผิว ช่วยปรับสมดุลผิว ให้พร้อมสำหรับการบำรุงในขั้นตอนต่อไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ สามารถทำได้ทุกสภาพผิว อย่างไรก็ตามในหัวข้อนี้จะขอพาไปดูว่าใครบ้างที่เหมาะกับการ Plasmalis

  • เหมาะกับผู้ที่ต้องการผลัดเซลล์ผิวเสื่อมสภาพอย่างอ่อนโยน แต่ต้องการเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน 
  • ผู้ที่มีสิวอุดตัน ผิวแห้งจากการทายา หรือแพ้สารผลัดเซลล์ผิวจำพวก AHA, BHA รวมถึงผิวที่มีสิวเรื้อรัง สิวยีสต์
  • ผู้ที่มีสิวอักเสบจากใส่หน้ากากอนามัย 
  • ผู้ที่มีผิวดื้อยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย P.Acne ผิวหมองคล้ำจากการผจญมลภาวะ

Plasma Clean ช่วยอะไร

  • กระชับรูขุมขน ช่วยให้ผิวเรียบเนียน
  • ปรับสภาพผิวให้กระจ่างใส
  • ลดการเกิดสิวผด สิวอุดตัน สิวเสี้ยน สิวอักเสบ
  • รักษารอยดำที่หลัง ทำให้หลังขาวใสขึ้น
  • ผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน โดยไม่ทำให้ผิวบาง
  • ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และเชื้อรา ที่ก่อให้เกิดสิวผิด สิวเซ็บเดิร์ม

ข้อดี-ข้อควรระวังของ Plasma Clean

ข้อดี

  • ทำเสร็จสามารถออกไปใช้ชีวิตประจำวันได้เลย
  • ไม่มีผลข้างเคียง ไม่ต้องกังวลเรื่องรอยไหม้ไม่เหมือนการทำเลเซอร์
  • ใช้เวลาทำไม่นาน แต่ละครั้งไม่เกิน 30 นาที 
  • สามรถทำได้บ่อย ประมาณ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์
  • หัตถการนี้เหมาะสมกับทุกสภาพผิว

ข้อควรระวัง

  • ไม่สามารถแก้ปัญหาในผิวชั้นลึกได้ อย่างชั้น SMAS เพราะเป็นการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกเท่านั้น
  • ต้องทำต่อเนื่องจึงจะเห็นผลชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ

การดูแลตัวเองหลังทำ Plasma Clean

การดูแลตัวเองหลังทำหัตถการนี้ง่ายมากเลยค่ะ อย่าที่เราทราบกันดีแล้วว่า pasma Clean คือการเตรียมผิวให้พร้อมรับการบำรุงในขั้นตอนต่อไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีควรมีการบำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ ทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันแสง UV เพื่อให้ผิวคงความกระจ่างใสอย่างยาวนาน ดังนั้นหลังทำหัตถการเรียบร้อยแล้วก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันแต่งหน้าได้ตามปกติเลยค่ะ 


ความงามที่เกี่ยวข้อง