ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากโรค MG แก้ได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากโรค MG แก้ได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

30 พ.ย. 2566   ผู้เข้าชม 419

ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่มีอาการเปลือกตาตกไม่คงที่ ลักษณะจะเป็น ๆ หาย ๆ  อาการลืมตาได้ไม่สุด ตาปรือ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน, ต่อมไทมัสโตผิดปกติ เป็นต้นสาเหตุเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการทานยาค่ะ


กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร

ภาวะที่เปลือกตา หรือ หนังตาหย่อนลงมามากกว่าปกติค่ะ เนื่องจากกล้ามเนื้อยกเปลือกตาทำงานได้ไม่เต็มที่  ทำให้กล้ามเนื้อตาไม่แข็งแรง ไม่สามารถพยุงชั้นตาของเราได้นั่นเอง การลืมตา กระพริบตาในแต่ละครั้ง ล้วนแล้วแต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเปลือกตา เส้นประสาท และ กล้ามเนื้อตา นะคะ ภาวะดังกล่าวสามาถเกิดได้ทุกเพศ ทุกวัยเลยค่ะ คนไข้บางรายเป็นมาแต่กำเนิด บางรายเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือ การใช้คอนแทคเลนส์เป็นระยะเวลานาน ซึ่งภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนี้ อาจเกิดที่ตาข้างเดียว หรือ สองข้างก็ได้ค่ะ คนไข้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมักมีอาการ ตาดูง่วงนอนตลอดเวลา ตาปรือ ตาดูไม่สดใส ส่งผลในเรื่องของบุคคลิก ความสวยงาม การมองเห็น และ การใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ทำให้หลายคนต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการเหล่านี้ค่ะ


กล้ามเนื้อตาทำหน้าที่อะไร 

กล้ามเนื้อตามีหน้าที่เกี่ยวกับการหลับตา ลืมตา หรือ เบิ่งตาค่ะ  เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกตา การกระพริบตาเป็นการทำให้น้ำในตากระจายตัวไปทั่ว ๆ ค่ะ นอกจากจะช่วยลดการระคายเคืองแล้ว ยังช่วยปกป้องเยื่อบุตา รวมไปถึงปกป้องกระจกตาดำอีกด้วยค่ะ เปลือกตาจะมีขนตา ซึ่งขนตานอกจากจะทำหน้าที่ในเรื่องของความสวยงามแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าตาอีกด้วย ขนตาเป็นส่วนที่ไวต่อความรู้สึกอย่างมากนะคะ เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นบริเวณใกล้ดวงตา จะเกิดการกระพริบตาโดยอัตโนมัติทันทีค่ะ


อาการผิดปกติที่พบบ่อย

อาการอักเสบบริเวณต่อมเปลือกตาที่พบได้บ่อย หรือ ที่เรียกกันอย่างคุ้นหูว่า “ตากุ้งยิง” 

  • กล้ามเนื้อเปลือกตากระตุก เกิดขึ้นได้จากกล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตา เกิดการเกร็ง สามารถเป็นได้ทั้งเปลือกตาบน และ เปลือกตาล่างค่ะ
  • กล้ามเนื้อตาล้า เกิดจากการใช้งานดวงตาเป็นระยะเวลานาน จึงก่อให้เกิดอาการเมื่อยล้าค่ะ
  • กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อเปลือกตาค่ะ

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร

ปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านการมองเห็น หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น “ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” ที่สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย แถมบางคนยังมีอาการเหล่านี้ตั้งแต่กำเนิดอีกด้วย รวมไปถึงการใช้ชีวิตในปัจจุบันก็สามารถก่อให้เกิดภาวะดังกล่าวได้เช่นกันค่ะ 

  • การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
    กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในเด็ก เกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่พัฒนา หรือ เกิดจากการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จะพบว่า ไม่มีรอยพับชั้นตา ทำให้ ตาปรือ ลืมตาไม่ค่อยขึ้น อาจทำให้ตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นได้น้อยกว่าอีกข้าง หนังตาตกทับดวงตา บดบังการมองเห็น หากไม่ได้รับการรักษา จะเกิดภาวะตาขี้เกียจ (Lazy eyes) ตาเหล่ตาเข (Amblyopia)  ซึ่งอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในเด็กจะเห็นชัดในช่วงอายุประมาณ 1-2 ขวบ ค่ะ
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
    โครงสร้างผิวเปลือกตาเกิดความหย่อนคล้อย กล้ามเนื้อเปลือกตาเสียความยืดหยุ่น จากการใช้งานเป็นเวลานาน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเปลือกตาลดลง ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตกทับตาดำมากกว่าปกติ จนบดบังการมองเห็นค่ะ
  • ใช้คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน 
    เนื่องจากคอนแทคเลนส์ไปถูเยื่อบุตาด้านบนค่ะ ทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อตาฉีกขาดได้รับการบาดเจ็บจนอ่อนแรงได้นั่นเอง
  • ผู้ป่วยโรค myasthenia gravis 
    เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้การทำงานของสารสื่อประสาทบริเวณช่องว่างระหว่างเส้นประสาท และ กล้ามเนื้อบกพร่องค่ะอาการที่พบบ่อย
    • เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงทำให้ หนังตาตก ลืมตาลำบาก กลอกตาผิดปกติ มองภาพไม่ชัดเจน เป็นภาพซ้อน
    • กล้ามเนื้อใบหน้า และ ระบบทางเดินอาหารอ่อนแรง
    • กล้ามเนื้อแขน ขา อ่อนแรง
    • กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง ทำให้เกิดอาการเหนื่อย หอบ
  • การใช้ชีวิตประจำวัน
    ด้วยพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มคนทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน คนที่ใช้งานแทปเล็ต หรือ มือถือเป็นระยะเวลานาน โดยไม่มีการพักสายตา ก็ส่งผลให้เกิดภาวะดังกล่าวได้เช่นกันค่ะ

อาการของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

ปัจจุบันพบว่าภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มักเกิดกับกลุ่มวัยรุ่น และ วัยทำงานค่อนข้างมากค่ะ เนื่องจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตของคนกลุ่มนี้ เน้นการใช้สายตา ทำงาน เล่นเกมส์ หน้าคอมพิวเตอร์ หรือ มือถือเป็นระยะเวลานาน โดยไม่มีการพักสายตา ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาถูกยืดออก จนหย่อนยานเกิดเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ ดังนั้น วันนี้จะมาเล่าให้ฟังนะคะว่า อาการของผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นแบบไหนบ้าง มาเช็คพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

  • หนังตาตก 
    เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด  เนื่องจากกล้ามเนื้อตาไม่พัฒนา ส่งผลให้ตาปรือตลอดเวลา  หนังตาตกทับดวงตา มีผลกระทบต่อการมองเห็น และ การดำเนินชีวิตในปัจจุบันค่ะ
  • ลืมตาไม่ขึ้น 
    เกิดจากการสูญเสียความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตา จนไม่สามารถลืมตาได้อย่างเต็มที่ ทำให้ตาดูปรือ คล้ายคนง่วงนอน ลืมตาได้ยาก ดูไม่สวยงาม ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ
  • ปัญหาการเลิกคิ้ว 
    เนื่องจากหนังตาตกลงมาทับดวงตาดำ ทำให้การมองเห็นลดลง ดังนั้นจึงต้องเลิกคิ้ว เลิกหน้าผากขึ้น เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น อาจก่อให้เกิดปัญหาริ้วรอยบริเวณหน้าผากร่วมด้วย
  • ขยี้ตาบ่อย 
    การขยี้ตาส่งผลให้เกิดความหย่อนคล้อยมากกว่าปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตายืดออก ชั้นตาอาจมีหลายชั้น หรือ เปลือกตามีรอยพับเป็นริ้ว ๆ ทำให้ดูตาปรือมากกว่าปกติ

โรค MG (Myasthenia Gravis) คืออะไร

ภาวะของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือ ที่เราเรียกกันว่า โรค MG ( myasthenia gravis ) เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดขึ้นได้จากระบบภูมิคุ้มกันรอยต่อระหว่างปลายประสาททำร้ายกล้ามเนื้อตัวเอง ( neuromuscular junction ) หรือ เรียกว่าระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ซึ่ง โรค MG หรือ Myasthenia Gravis สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ 

  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ต่อมไทมัสมีขนาดผิดปกติ
  • พันธุกรรม 

อาการของโรค MG (Myasthenia Gravis)

ลักษณะอาการที่พบมากที่สุด 70-85 % ในช่วงแรกก็ คือ อาการหนังตาตก (extraocular muscle weakness)  มองเห็นภาพซ้อน แต่เมื่อหลับตาข้างได้ข้างหนึ่งอาการภาพซ้อนจะหายไป ทั้งนี้ในบางรายจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อในการพูด การกลืน กล้ามเนื้อปาก ลำคอ กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง และ ในบางรายอาจจะมีอาการที่รุนแรงถึงขั้นทำใหน้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากการเกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหายใจ (myasthenic crisis) 


การวินิจฉัยและวิธีการรักษาโรค MG บริเวณกล้ามเนื้อตา

เนื่องจากโรค MG  (Myasthenia Gravis) มีอาการ และ ลักษณะคล้ายกันกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอื่น ๆ จึงทำให้ต้องซักประวัติของคนไข้อย่างละเอียด ในกรณีที่คนไข้มีอาการไม่มาก แล ะสงสัยว่าตัวเองเป็นโรค MG หรือ เปล่านั้น คนไข้สามารถทดสอบอาการโรค MG เบื้องต้นได้ 2 แบบดังนี้ คือ

  • ทดสอบโดย Ice Test
    เป็นการทดสอบอาการด้วยความเย็น โดยสามารถใช้น้ำแข็ง หรือ แผ่นประคบเย็นวางไว้ที่เปลืองขณะหลับตาอยู่ ทิ้งไว้  2 นาที จากนั้นวัดขนาดของความกว้างของตา ว่าเมื่อลืมตาแล้วสามารถลืมตาได้ดีจากก่อนทำ ice test หรือเปล่า หากว่าวัดความกว้างของการลืมตาได้ 2 มิลลิเมตร์ขึ้นไปถือว่าเป็นผลบวก ก็สงสัยได้เลยว่าจะมีอาการของโรค MG ดังนั้นควรไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์วินิจฉัย และ หาวิธีการรักษาอย่างถูกต้อง แต่ต้องสังเกตุดวงตาตัวเองภายใน 30 วินาที หลังจากที่นำน้ำแข็งออก เพราะเปลือกตาจะตกลงเหมือนเดิมหลังว่าเย็นเริ่มลดลง 
  • ทดสอบโดย Sleep Test
    คือ การนอนหลับพักผ่อนเป็นระยะเวลา 45 – 60 นาที เพื่อใช้เปรียบเทียบระหว่างตื่นนอน และ หลังเข้านอน หรือ สามารถทดสอบได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 
    • ให้ผู้ที่มีอาการหนังตาตก หรือ อาการลืมตาไม่ขึ้น ถ่ายรูปเซลฟี่ตัวเองหลังตื่นนอน
    • หลังจากนี้ใช้ชีวิต หรือ ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ
    • ถ่ายรูปเซลฟี่อีกครั้งในช่วงบ่าย จากนั้นทำมาเปรียบเทียบกัน

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วให้สังเกตุดูว่าหากภาพตอนตื่นนอนมีดวงตาที่สดใส ตาเปิดกว้าง แต่พอสังเหตุภาพที่เซลฟี่ตัวเองในช่วงบ่ายมีอาการตาตี่แคบลง ตาเปิดไม่กว้างเท่า หรือ มีอาการหนังตาตกในช่วงบ่าย นี่อาจสงสัยได้ว่ามีอาการของโรค MG ได้เช่นกันค่ะ

  • ตรวจโรค MG ที่โรงพยาบาล
    ในการตรวจโรค MG  ( myasthenia gravis ) ที่โรงพยาบาลนั้น คุณหมอจะมีการซักประวัติการดำเนินการของโรค การตรวจร่างกาย เช่น
    • การตรวจการขยายของรูม่านตา, ตรวจการหดตัวของกล้าม
    • การทำ Prostigmin test คือ เป็นการฉีด Prostigmin ฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อ แล้วประเมินทุก 15, 20, 25 และ 30 นาที เพื่อประเมินอาการอ่อนแรง
  • ตรวจเส้นประสาท และกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า
    เป็นปล่อยกระแสไฟฟ้าในขนาดที่ปลอดภัย กระตุ้นตามแนวทางเดินของเส้นประสาท ในส่วนที่สงสัยว่ามีความผิดปกติ และ ใช้อุปกรณ์ตรวจรับสัญญาณ ซึ่งจะแสดงผลเป็นกราฟทางหน้าจอเพื่อการวินิจฉัย และ โรคทางระบบประสาท และ กล้ามเนื้อ เช่น โรค MG นั่นเองค่ะ

การรักษาโรค MG ( myasthenia gravis )

ภาวะกล้ามเนื้อตา MG  ไม่ควรได้รับการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เมื่อแพทย์สงสัยภาวะนี้ จะมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัย และ การรักษาด้วยยา ไม่ใช่การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา เพราะเมื่อคนไข้ได้รับการรักษาและ อาการของโรค MG  ( myasthenia gravis ) ดีขึ้น อาจจะทำให้เปลือกตาถูกยกรั้งขึ้นผิดปกติได้  ซึ่งการรักษาด้วยยาจะแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • ยาประเภทที่ช่วยเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาท
    มีความปลอดภัยสูง มีผลข้างเคียงเช่น ปวดท้อง, กล้ามเนื้อกระตุก เป็นต้น
  • กลุ่มยาสเตียรอยด์
    จะใช้ยานี้เมื่อมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยนอกจากอาการหนังตาตก ในคนไข่ที่ได้รับยากลุ่มยาสเตียรอยด์ ไม่ควรหยุดใช้ยาเอง ควรทานยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ฮอร์โมนที่ผิดปกติ ฯลฯ 
  • ยากดภูมิคุ้มกัน
    การรักษาด้วยกลุ่มยาประเภทนี้จะมีผลข้างเคียงมากที่สุด เนื่องยามีฤทธิ์ทำลายตับ หรือ กดไขกระดูกได้

อย่างไรก็ตามตรวจรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี และ เพื่อความปลอดภัยของคนไข้เอง


กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง VS โรค MG แตกต่างกันอย่างไร

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  • อาการ
    ภาวะที่ลืมตาไม่สุด เปลือกตาด้านบนปิดลงมามากกว่าปกติทำให้เห็นตาดำไม่ครบวง ทำให้ดูตาปรือ ลืมตายาก 
  • สาเหตุ 
    • กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด, กล้ามเนื้อตาในคนสูงวัย เช่น ความหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อเปลือกตา
    • กล้ามเนื้อตาที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การถูขยี้ตาบ่อย ใส่ contact lens มาเป็นเวลานาน ๆ การผิดพลาดจากการทำตาสองชั้น
  • การรักษา
    สามารถแก้ไขด้วยการผ่าตัดทำตาสองชั้น 

โรค MG หรือ Myasthenia Gravis

  • อาการ
    จะมีอาการเปลือกตาตกไม่คงที่ คือ จะเป็น ๆ หาย ๆ หรือ ในตอนเช้าจะมีอาการน้อย แต่อาการหนังตาตกจะรุนแรงขึ้นในช่วงบ่าย จะดีขึ้นหลังจากได้รับการพักผ่าน
  • สาเหตุ
    ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน, ต่อมไทมัสโตผิดปกติ, พันธุกรรม
  • การรักษา
    ไม่เหมาะกับการรักษาด้วยการผ่าตัด จะเป็นการรักษาด้วยการทานยา

หากไม่รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อันตรายไหม

หลายคนอาจเข้าใจว่า “เมื่อมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ไม่จำเป็นต้องรีบรักษาก็ได้ เพราะไม่เป็นอันตราย ไม่มีผลต่อการดำรงชีวิต” แต่จริง ๆ แล้วเป็นความเข้าใจที่ผิดนะคะ เนื่องจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงส่งผลกระทบได้มากกว่าที่คิดค่ะ นอกจากก่อให้เกิด หนังตาตก ตาปรือ ตาดูง่วงนอน ตาสองข้างดูไม่เท่ากันแล้ว ยังลดทอนประสิทธิภาพการมองเห็น บางอาชีพอาจเป็นอุปสรรคในการทำงานได้ค่ะ

สังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ภาวะดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นโดยตรงเลยใช่ไหมคะ ซึ่งการมองเห็นเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ นะคะ หากดวงตาของเราขาดประสิทธิภาพการมองเห็น อนาคตอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การทำงาน การเดินทาง การอ่านหนังสือ รวมไปถึงกิจกรรมผ่อนคลายต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำให้สูญเสียความมั่นใจในการเข้าสังคมอีกด้วยค่ะ


การแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง กับ การทำตาสองชั้น ต่างกันอย่างไร

การแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นการผ่าตัดลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อค่ะ เพื่อรักษากล้ามเนื้อตาให้กลับมาแข็งแรง แก้ไขปัญหาตาปรือ ตาไม่สดใส ตาดูง่วงตลอดเวลา ช่วยให้เปิดตาได้ดีขึ้น เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่มีความละเอียด และ ซับซ้อนมากกว่าการทำตาสองชั้น จึงใช้วลาในการผ่าตัดค่อนข้างมากค่ะ

ในส่วนการทำตาสองชั้น เป็นการผ่าตัดเพื่อสร้างชั้นตาขึ้นมาใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหา ตาเล็ก หนังตาตก ไขมันสะสมบริเวณเปลือกตา ชั้นตาหลบใน ตาชั้นเดียว ทำให้ชั้นตาคมชัดขึ้น ตาดูกลมโต ดวงตาดูสดใสขึ้น ซึ่งการทำศัลยกรรมตามี 2 เทคนิคหลัก ๆ นะคะ และ เทคนิคที่ว่านั้นก็ คือ เทคนิคการกรีดแผลยาว และ เทคนิคการกรีดแผลสั้น นั่นเอง


ผลข้างเคียงหลังการทำตา

ปัจจุบันการทำศัลยกรรมตาสองชั้นเป็นที่นิยมอย่างมากเลยก็ว่าได้ค่ะ  ด้วยเทรนด์ในยุคปัจจุบันที่ชื่นชอบดวงตาที่กลมโต สดใส ดวงตาที่ดูเหมือนรอยยิ้มตลอดเวลา เพื่อเพิ่มเสน่ห์ให้กับใบหน้า จึงทำให้สาว ๆ หลายคนหันมาทำตาสองชั้นกันมากขึ้นค่ะ แต่ต้องอย่าลืมนะคะว่าการทำศัลยกรรมทุกประเภทนั้นมีความเสี่ยง รวมไปถึงผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้นหากเราดูแลตัวเองได้ไม่ดีเท่าที่ควร  คนไข้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ  ดังนั้น วันนี้จะเล่าให้ฟังนะคะ ว่าอาการข้างเคียงหลังเข้ารับการผ่าตัดที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับค่ะ 

ผลข้างเคียงระยะสั้น
คือ อาการที่เกิดขึ้นในช่วงระยะ 7-14 วัน หลังผ่าตัด

  • รอยเขียวช้ำ
    อาการนี้สามารถพบได้ทั่วไปหลังการผ่าตัด เนื่องจากใต้ผิวหนังของเรามีเลือดไหลออกมาทำให้เห็นเป็นรอยช้ำเขียวค่ะ มักจะเกิดกับคนที่ฟกช้ำง่าย ทางแก้ที่ดีเลย คือ หมั่นประคบเย็นในช่วงแรก และประคบอุ่นในช่วงหลังเพื่อลดอาการช้ำเขียวค่ะ
  • แผลอักเสบ
    หลังการเข้ารับการผ่าตัด ควรหมั่นดูแล และทำความสะอาดแผลอย่างดีนะคะ เพราะหากดูแลแผลไม่ดี แผลเปียก ล้างแผลไม่สะอาด อาจจะก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ค่ะ
  • แผลแยก
    สาเหตุมาจาก เทคนิคการเย็บแผล ไหมหลุดเร็วเกินไป หรือ อาการอักเสบค่ะ หากสังเกตุเห็นว่าแผลแยกออกจากกันแนะนำว่าให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษานะคะ  เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้แผลไม่สวย ชั้นตาก็ดูไม่สวยงามด้วยค่ะ
  • หลับตาไม่สนิท
    คนไข้บางรายอาจหลับตาได้ไม่สนิท เนื่องจากมีอาการบวมของแผลบริเวณเปลือกตา และยาชาค่ะ แต่ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เพราะอาการบวมนี้จะยุบตัวลง และหายได้เองค่ะ หากมีอาการเคืองตาร่วมด้วย แนะนำให้ใช้น้ำตาเทียมหยอดใส่บริเวณตาระหว่างวันเพื่อบรรเทาการระคายเคืองชั่วคราวนะคะ

ผลข้างเคียงระยะยาว

  • ชั้นตาหลุด
    สาเหตุมาจาก คนไข้มีอาการเคืองตาแล้วขยี้ตาค่ะ  รวมไปถึงการที่แพทย์เลือกใช้เทคนิคที่ไม่เชี่ยวชาญ หากพบว่าชั้นตาหลุดควรปรึกษาแพทย์เพื่อผ่าตัดแก้ไขภายใน 14 วันนะคะ
  • ตาสองชั้น บวมไม่เท่ากัน
    โดยปกติแล้วอาการยุบบวมจะยุบลงเต็มที่หลังจาก 3 เดือนไปแล้ว หากพบว่ามีอาการชั้นตาไม่เท่ากัน อาจมีสาเหตุมาจากการที่แพทย์ผ่าตัดเอาไขมันบริเวณเปลือกตาออกมากจนเกินไป ทำให้เบ้าตาลึก ในบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงร่วมด้วยค่ะ
  • ชั้นตาใหญ่เกินไป
    สาเหตุหลัก ๆ มาจากการเย็บชั้นตาที่สูงเกินไปของแพทย์ค่ะ หรือ ในขั้นตอนการผ่าตัดเอาไขมันบริเวณเปลือกตาออกมากเกินไปนั่นเอง
  • ตาสองชั้นมีรอยแผลเป็นที่เห็นได้ชัดเจน
    โดยปกติแล้วการทำตาสองชั้นจะยุบบวมเต็มที่ และดูเรียบเนียนในช่วง 3-6 เดือนนะคะ ทั้งนี้หากคนไข้ดูแลแผลได้ไม่ดีอาจจะเกิดคีลอยด์ ทำให้แผลไม่สวย ไม่เรียบเนียน ได้ค่ะ

ผลลัพธ์การผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

อย่างที่ทราบกันดีว่า ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) คือ ภาวะที่หนังตาตก หรือ หย่อนกว่าระดับปกติ อาจเป็นข้างเดียว หรือ สองข้างก็ได้ หากไม่ทำการรักษาจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมากค่ะ อาการเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อตานะคะ 

ในส่วนผลลัพธ์หลังผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อตา มีดังต่อไปนี้ 

  • ชั้นตาไม่ซ้อนกันหลายชั้น ไม่เป็นริ้วที่บริเวณเปลือกตา
  • ช่วยให้เปิดตาทั้งสองข้างได้ดีขึ้น ส่งผลให้เห็นดวงตาดำในระดับที่พอเหมาะ ไม่เบิ่งตามากเกินไป ตาดูอ่อนหวานขึ้น ตาทั้งสองข้างดูเท่ากัน
  • สามารถลืมตาได้ตามปกติ ลดโอกาสการเกิดริ้วรอยบริเวณหน้าผาก เพราะไม่ต้องเลิกคิ้ว หรือ ขมวดคิ้ว
  • สามารถทำร่วมกับการทำตาสองชั้นได้ด้วยนะคะ เนื่องจากแผลผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาและทำตาสองชั้นเป็นแผลเดียวกัน นอกจากจะช่วยเพิ่มความคมชัดของชั้นตาแล้ว ยังช่วยแก้ไขปัญหาหนังตาตก ตาปรือ ตาไม่สดใส ได้ดีอีกด้วยค่ะ

สำหรับใคร ที่อยากผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ควรศึกษาข้อมูลโดยละเอียด ปรึกษาแพยท์ทุกครั้งก่อนเข้ารับการรักษา เพื่อความปลอดภัย และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด รวมไปถึงผลลัพธ์ที่ดี เหมาะสมในแบบฉบับคุณ


บทความที่เกี่ยวข้อง